คำถามท้ายบท
หน่วยที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์
นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ
แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้
ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร
โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ
และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์วิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น
เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ
ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร
อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล
การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณมาแล้ว
หน่วยเล็กที่สุดเป็นครอบครัว ใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นเมือง
ในที่สุดเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร
สิ่งของเครื่องใช้
ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนเองไม่สามารถผลิตเองได้หรือมีใช้ไม่เพียงพอ ฯลฯ การติดต่อกันในยุดแรกๆเป็นการบอกกันปากต่อปาก
ต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ
ซึ่งกลายมาเป็นการส่งจดหมายถึงกัน จากนั้นมีการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีความรวดเร็วมากขึ้น
ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมมาคม
ซึ่งอาศัยหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด
ข้อความหรือรูปภาพ เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรียกว่า คลื่นวิทยุกระจายไปในอากาศเมื่อถึงปลายทาง
สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นจะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความ หรือภาพ
เหมือนกับสิ่งที่ส่งออกไปจากต้นทาง
4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม
เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี
พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง
ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด
(-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น…
– - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387
เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก
ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง
มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ
“ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน
เมื่อประมาณ2,000-3,000 ปีมาแล้ว
5.
ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบอย่างไร
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence) หรือ เอไอ (AI)
หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต
ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก
แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ
อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่
1)
ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or
Robot) คือ หุ่นจำลองร่างกายของมนุษย์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2)
ระบบประมลภาษาพูด (Natural
Language Processing System) คือ
การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์
3)
ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition
System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์
และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง
4)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert
System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้
รู้จักเหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
1)
ด้านวิชาการ
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการศึกษาค้นคว้าแหล่งข้อมูล
ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนสะดวกมากขึ้นในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
2)
การดำรงชีวิตประจำวัน
ช่วยให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่างๆ
3)
การดำเนินธุรกิจ
ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น
ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
4)
ด้านการติดต่อสื่อสาร ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ
และประสบการณ์โลกไร้พรมแดนทำให้ผู้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วแลละกว้างขวาง
5)
ด้านผลผลิต
ระบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจะช่วยให้ทำงานได้มากขึ้นหรือช่วยลดความเสี่ยงในงานบางอย่างโดยใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ด้านเนื้อหา
-
ความสมบูรณ์ครอบคลุม
-
ความสัมพันธ์กับเรื่อง
-
ความถูกต้อง
-
ความเชื่อถือได้
-
การจรวจสอบได้
ด้านรูปแบบ
-
ชัดเจน
-
ระกับรายละเอียด
-
รูปแบบการนำเสนอ
-
สื่อการนำเสนอ
-
ความยืดหยุ่น
ด้านประสิทธิภาพ
-
ประหยัด
-
เวลา
-
ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
-
การปรับปรุง
-
มีระยะเวลา
ด้านกระบวนการ
-
ความสามารถในการเข้าถึง
-
การมีส่วนร่วม
-
การเชื่อมโยง
8.จงตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-
หนังสือพิมพ์
-
วิทยุกระจายเสียง
-
โทรทัศน์
-
ตู้ATM
9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
กระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนๆ การเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น
มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร
การบิน วิศวกรรม สถาปัตกรรม การแพทย์
การศึกษาหรือการเรียนการสอนซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลกได้ทันเหตุการณ์
สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่
10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้สังคม
ด้านประโยชน์
-
ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
-
ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
-
การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
-
สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก
ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
-
สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต
-
ส่งเสริมระบบบริหารการจัดการรูปแบบใหม่
-
กระจายโอกาสด้านการศึกษา
-
สามารเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย
-
ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
ด้านโทษ
-
สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน
จนกระทั้งน้ำ
-
เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน
ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
-
ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
-
ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน
เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
-
ทำให้เสียเวลา
ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
-
หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น
โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
หน่วยที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. คำว่า “ระบบ” และวีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ
อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน
สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขทุกขั้นตอน
ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรืการดำเนินงาน
วิธีการเชิงระบบ (System) หมายถึง
วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน
เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ
ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
1)
ปัจจัยนำเข้า (Input)
2)
กระบวนการ (Process)
3)
ผลลัพธ์ (Output)
3. ระบบสารสนเทศ
หมายถึง อะไร
ระบบสารสนเทศ หมายถึง
การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ
4. องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
ได้แก่อะไร
1) ระบบการคิด
2) ระบบเครื่องมือ
5. สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ด้านจุดมุ่งหมาย
1) ข้อมูล (Data)
2) สารสนเทศ (Information)
3) ความรู้ (Knowledge)
4) ปัญญา (Wisdom)
ด้านขั้นตอน
1) ข้อมูลนำเข้า (Input)
2) กระบวนการ (Process)
3) ผลลัพธ์ (Output)
สารสนเทศ
1) เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
(Hardware)
2) ข้อมูล (Data)
3) สารสนเทศ (Information)
4) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
(Software)
5) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
(Peopleware)
6. โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนจัดการอย่างไร
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ
1. วิธีเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
2. วิเคราะห์หน้าที่
3. วิเคราะห์งาน
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
1. การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
2. ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระดับกลุ่ม กับระดับองค์แตกต่างกันอย่างไร
8. ข้อมูลและความรู้
คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
9. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
การวบรวมข้อมูล
การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
การจัดการข้อมูล
การควบคุมข้อมูล
การสร้างสารสนเทศ
2. วิธีการเก็บข้อมูล
การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
การนับจำนวน
10. จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
- Linux Server
- UNIX server
- Windows NT
server
- Windows 2000
Server
หน่วยที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
1. คอมพิวเตอร์
หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
คอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆ
สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3. มีความถูกต้องแม่นยำ
4. เก็บข้อมูลได้มาก
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็ว
2. คอมพิวเตอร์มีหน้าที่อย่างไร
คอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นชาวจีนใน ปีพ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ขึ้นมาช่วยในการคิดเลขจึงถือได้ว่าเครื่องคิดเลขเครื่องนี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องคิดเลขในยุคต่อมา
ในปี พ.ศ. 2185 แบลส์ พาสคัส นักวิทยาศาสตร์และปรัญาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาใช้งาน
ในการคำนวณ ต่อมาปีพ.ศ. 2376 ชาร์ล แบบเบจ
ได้สร้างเครื่องคำนวณโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกเขาได้ยกย่องเป็น
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
เนื่องจากเครื่องที่เขาสร้างขึ้นเป็นต้นแบบหรือแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
และในปีพ.ศ. 2489 ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกชื่อ อินิแอ็ก(ENIAC) เพื่อใช้ในการคำนวณวิถึกระสุนปืนใหญ่ที่ใช้ในการสงครามโลกครั้งที่ 2
3. ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
- จอภาพ
- ตัวเครื่อง
- คีย์บอร์ด
- เมาส์
- เครื่องประมวลผล
CPU
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
- ฮาร์ดแวร์
- หน่วยประมวลผลกลาง
- หน่วยความจำ
- บุคลากร
5. ฮาร์ดแวร์
หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสมารถสัมผัสจับต้องได้
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
- ส่วนประมวลผล (Process)
- ส่วนความจำ (Memory)
- อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
(Input – Output Devices)
- อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
(Storage Device)
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเอร์
ส่วนประมวลผล (Process)
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM) และแบบรอม(ROM) หน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
8. จานบันทึกข้อมูล(
Hard Disk)
ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อะไร
- แผ่นจานแม่เหล็ก
- เครื่องจับจาน
ทำหน้าที่ บันทึกข้อมูล
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้
เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabit) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)
-
เมกะไบต์(Megabyte)
หมายถึง
ความจุของหน่วยเก็บ
-
กิกะไบต์(Gigabit)
-
พิกเซล(Pixel) หมายถึง
-
จิกะเฮิร์ซ(GHz)
10.
จอภาพ แป้นพิมพ์
และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในคอมพิวเตอร์
-
จอภาพ ทำหน้าที่
แสดงผลที่ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
-
แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่
รับข้อมูลเพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
-
เมาส์
ทำหน้าที่ ควบคุมตัวชี้(Pointer)ที่ปรากฏบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆ
หน่วยที่ 4 ซอฟต์แวร์ (Software)
1. ซอฟต์แวร์
คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ซอฟต์แวร์ คือ
ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้
2. ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
2 ประเภท ได้แก่
1.
ซอฟต์แวร์ระบบ
2.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง
ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก
การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย
เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ
และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย
5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
คือ
โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง
6. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
เพราะซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความต้องการของผู้ใช้
7. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าที่แทนค่าด้วยตัวเลข 0
และ 1 โดยผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข
0 และ 1 เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบฐานสอง คอมพิวเตอร์สามารถแปลผลอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะได้อย่างถูกต้อง
เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งสำหรับคอมพิวเตอร์ว่า
ภาษาเครื่อง
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
คือ ซอฟต์แวร์ที่ควบคุมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์
เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารการจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
การเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อโดยอาศัย
สายเคเบิ้ลเชื่อมระหว่างพอร์ตของเครื่องพิมพ์ เพื่อการรับส่งแฟ้มงานข้อมูลระหว่างกันสำหรับตัวอย่างของเครือข่ายที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเช่น
เครือข่ายระบบธนาคาร เป็นต้น
2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมโยงกัน
3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
4. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก ผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก
5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการร่วมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
มี 3 ประเภท
1.
เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.
เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.
เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
2 รูปแบบ
1.
ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2.
ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการ
หน่วยที่ 6 อินเทอร์เน็ต
1. อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทาวการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้
ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3. จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้แลกเปลี่ยนข่าวสาร
สะดวก รวดเร็ว
- ใช้สืบค้นจ้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
- ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
- สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
- ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
- ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
- ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
- ซื้อขายสินค้าและบริการ
4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์
Modem หมายความว่าอย่างไร
อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อก
ผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิทัลได
5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
www มีประโยชน์อย่างไร
สามารถสืบค้นได้ง่าย
6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ
E-mail
รับ
ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก
หน่วยที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
1 1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ
ว่ามีกี่ประเภท
1)
อินทราเน็ต (Intranet)
2)
เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
3)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
4)
รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง
2. อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร
เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ
ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้ เ
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์
Google พอสังเขป
พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกปุ่ม
Go บนหน้าจอ Google
ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ
5. Digital library หมายความว่าอย่างไร
การจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะเก็บในรุปของสื่อพิมพ์
6. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
-
เว็บไซต์โครงการ
SchoolInet@1509 (http://www.school.net.th)
-
เว็บไซต์LearnOnline (http://www.learn.in.th)
หน่วยที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้
โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.
การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
เกิดความประทับใจ ซึ่งนำไปสู่การเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ และผู้ชมมีการรับรู้ทั้งทางตาและหู
จะทำให้ผู้ชมจดจำได้มากกว่าการรับรู้แค่ทางตาเพียงอย่างเดียว
2.
หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
-
การดึงดูด
-
ความชัดเจนและกระชับของเนื้อหา
-
ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3.
การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
-
เครื่องคอมพิวเตอร์
-
เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์
4.
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
5.
รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
การนำเสนอแบบ
Slide Presentaion
-
โดยใช้โปรแกรม Power Point
-
โดยใช้โปรแกรม Proshow Gold
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น